เกี่ยวกับฉัน

สบาย สบาย ขอให้มีเสียงเพลงเพราะๆฟัง ก้อพอ

วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552

วิธีประหยัดไฟ

• ปิดไฟฟ้า 1 ดวง หรือ ถอดหลอดไฟที่ไม่ใช้ออก จะสามารถประหยัดพลังงานได้2,519 ล้านบาท/ปี

• ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศา จะช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ 10% และปิดก่อนเลิกใช้ 30 นาที หรือลดเวลาการเปิดแอร์ 30 นาที สามารถลดใช้พลังงานได้6% ซึ่งสามารถประหยัดพลังงานได้ประมาณ 2,642 ล้านบาท/ปี

• ตั้งตู้เย็นห่างผนัง 15 เซนติเมตร จะช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ 10% ซึ่งสามารถประหยัดพลังงานได้ 2,642 ล้านบาท/ปี

• ปิดโทรทัศน์เมื่อไม่มีคนดู หรือเลือกใช้โทรทัศน์ขนาด 14 นิ้ว แทน 20 นิ้ว จะสามารถประหยัดพลังงานได้ 2,642 ล้านบาท/ปี

• ใช้หลอดฟลูออเรสเซนท์ 18 วัตต์ แทนหลอดไส้ 100 วัตต์ จะสามารถประหยัดพลังงานได้ 423 ล้านบาท/ปี

• ถอดปลั๊กเตารีดก่อนรีดเสื้อผ้าเสร็จ 2-3 นาที จะสามารถประหยัดพลังงานได้49 ล้านบาท/ปี

• เสียบปลั๊กกระติกนํ้ าร้อนเมื่อใช้ จะสามารถประหยัดพลังงานได้ 579 ล้านบาท

• ใช้จอคอมพิวเตอร์ 15 นิ้ว แทน 17 นิ้ว และปิดหน้าจอเมื่อไม่ใช้ จะสามารถประหยัดพลังงานได้ 92 ล้านบาท/ปี

• อย่าเสียบปลั๊กไฟฟ้าทิ้งไว้เมื่อไม่ใช้งาน จะสามารถประหยัดพลังงานได้ 3 ล้านบาท/ปี ขับรถไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะสามารถประหยัดพลังงานได้12,150 ล้านบาท/ปี

การบริโภคอาหารของคนไทย


การบริโภคอาหารของคนไทย
อาหารมีความสำคัญยิ่งต่อสุขภาพของคนเรา และมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อภาวะโภชนาการซึ่งเป็นตัวบ่งชี้สุขภาพ คนที่กินอาหารมากเกินไปจะเกิดภาวะโภชนาการเกิน เป็นสาเหตุของโรคอ้วนและโรคเรื้อรังที่เกิดจากความเสื่อมต่างๆ หากกินอาหารไม่เพียงพอก็ทำให้เป็นโรคขาดสารอาหาร ส่งผลถึงประสิทธิภาพของร่างกายได้ อาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคต่างๆ หรือโลหะหนัก ยาฆ่าแมลง ตลอดจนสารเคมีต่างๆ ล้วนส่งผลถึงความไม่ปลอดภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนเรา ซึ่งเราก็ประสบปัญหาทั้ง 3 ด้านดังกล่าวข้างต้น แต่ปัญหาเรื่องโภชนาการเกินเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และนับเป็นปัญหาที่ท้าทายนักวิชาการด้านโภชนาการอย่างมาก ส่วนปัญหาการขาดสารอาหารแม้จะลดความรุนแรงลงแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงมีอยู่ สำหรับปัญหาความปลอดภัยของอาหารก็ยังพบเห็นได้ไม่น้อยในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้นักวิชาการด้านโภชนาการและผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบจึงได้พยายามดำเนินการต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว วิธีหนึ่งที่ได้ดำเนินการเพื่อหาข้อมูลในการแก้ไขปัญหาคือ การสำรวจการบริโภคอาหารของคนไทย การสำรวจการบริโภคอาหารของคนไทยจะทำให้ทราบว่าคนไทยกินอาหารอะไรบ้าง กินอย่างไร ในปริมาณเท่าไร เพราะเมื่อทราบว่าคนไทยกินอะไรบ้างก็จะสามารถทราบภาวะโภชนาการโดยรวมหรือภาพรวมของภาวะโภชนาการของคนไทย หรือทำให้ทราบแนวโน้มว่าคนไทยจะประสบปัญหาโภชนาการอย่างไร นอกจากนี้ยังสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาศึกษาว่าคนไทยจะมีความปลอดภัยในการบริโภคอาหารหรือไม่ อย่างไร เสี่ยงต่อการได้รับสารปนเปื้อน เช่น อะฟล่าทอกซินหรือไม่ อย่างไร เป็นต้น ซึ่งในการดำเนินการสำรวจดังกล่าวต้องทำโดยใช้หลักวิชาการที่ถูกต้อง ตั้งแต่การเลือกกลุ่มบุคคลที่จะสำรวจ โดยต้องพยายามเลือกกลุ่มบุคคลที่สามารถเป็นตัวแทนของคนไทยทั้งหมด แบบสอบถามที่จะใช้เป็นเครื่องมือก็ต้องมีมาตรฐาน ที่สำคัญคือต้องมีเงินทุนเพียงพอในการสำรวจด้วย และเมื่อสำรวจเสร็จสิ้น การวิเคราะห์ประมวลข้อมูลก็เป็นสิ่งสำคัญมาก จึงเห็นได้ว่าการสำรวจการบริโภคอาหารของคนไทยนั้นต้องใช้พละกำลังในทุกด้านอย่างมหาศาลทีเดียว และข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาก็นับว่าคุ้มค่า เพราะสามารถนำมาใช้ในการวางยุทธวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการที่เกิดขึ้น การสำรวจด้านโภชนาการของคนไทยในช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมาได้มี 2 หน่วยงานดำเนินการสำรวจ คือ กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการเมื่อ พ.ศ. 2546 รายงานผลการสำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 และสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยการสนับสนุนของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำรวจข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2546-2547 และรายงานผลเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งการสำรวจด้านโภชนาการของทั้ง 2 หน่วยงานทำให้ทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ทำงานด้านอาหารและโภชนาการของประเทศไทย และเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ จึงขอนำมาบอกเล่าให้คุณผู้อ่านได้ทราบ การสำรวจภาวะโภชนาการของกองโภชนาการมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลด้านอาหารและโภชนาการ ตลอดจนข้อมูลพื้นฐานคนไทยและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของครัวเรือนมาใช้ในการกำหนดนโยบายและวางแผนการดำเนินงานโภชนาการของประเทศ โดยได้ทำการศึกษาภาวะโภชนาการของประชากรทุกกลุ่มอายุ ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของทารก เด็กวัยก่อนเรียน เด็กวัยเรียน วัยทำงาน ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ตลอดจนศึกษาข้อมูลพื้นฐานคนไทย และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของครัวเรือน พบว่าครัวเรือนส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ระหว่าง 50,001-100,000 บาทต่อปี โดยจำนวนครึ่งหนึ่งของครัวเรือนดังกล่าวมีรายได้มากกว่า 96,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ครัวเรือนที่อยู่ในภาคกลางมีรายได้สูงสุด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีรายได้ต่ำสุด และครัวเรือนส่วนใหญ่จ่ายเงินเป็นค่าอาหารร้อยละ 21-40 ของรายได้ ส่วนภาวะโภชนาการพบเด็กอายุ 0-5 ปี มีภาวะเตี้ยร้อยละ 7.9 ภาวะอ้วนร้อยละ 4.0 เด็กอายุ 6-14 ปีในเขตเมืองพบภาวะอ้วนร้อยละ 9.5 เยาวชนในเขตเมืองอายุ 15-18 ปีพบภาวะอ้วนร้อยละ 17.7 ส่วนผู้ใหญ่พบว่ากลุ่มอายุ 30-59 ปีมีภาวะอ้วนมากที่สุด โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย คือพบภาวะอ้วนในผู้หญิงร้อยละ 46.2 และผู้ชายร้อยละ 32.0 สำหรับการขาดสารอาหารพบว่าภาคใต้มีภาวะขาดสารอาหารมากที่สุด คือมีการเจริญเติบโตด้อยทั้งน้ำหนักและความสูงต่ำกว่าเกณฑ์มากกว่าภาคอื่น อีกทั้งพบปัญหาอ้วนสูงเป็นที่สองรองจากภาคกลาง และพบปัญหาคอเลสเตอรอลสูงมากที่สุด นอกจากนี้การสำรวจของกองโภชนาการในครั้งนี้พบว่าในทุกภาคมีปัญหาคอพอกในเด็กวัยเรียนเพิ่มขึ้น ทั้งยังพบว่าเด็กกลุ่มวัยทำงาน หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรประสบปัญหาโลหิตจางมากขึ้น โดยพบในชนบทมากกว่าในเมือง ส่วนการบริโภคน้ำตาลของกลุ่มวัยทำงานพบว่าค่าเฉลี่ยของการบริโภคน้ำตาลและอัตราความชุกของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเพิ่มขึ้นตามอายุ และร้อยละ 40 ของกลุ่มคนวัยทำงานในเมืองมีพฤติกรรมการเติมเครื่องปรุงรสก่อนชิมทุกครั้ง รายงานการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของกองโภชนาการนี้ พบพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมต่างๆ เช่น เด็กวัยรุ่นงดบริโภคอาหารบางมื้อ พบการกินขนมขบเคี้ยวมาก และในทุกกลุ่มอายุพบว่ามีการกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น จึงทำให้ได้รับไขมันเพิ่มขึ้นด้วย ประเด็นที่คณะผู้สำรวจฝากให้คิดคือ วิถีชีวิตที่ใช้กำลังกายน้อยลงทั้งในชีวิตประจำวันและการทำงาน ซึ่งพบว่ามีการออกกำลังน้อย สำหรับการสำรวจข้อมูลการบริโภคอาหารของประเทศไทยโดยสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยการสนับสนุนของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาตินั้น ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลครอบคลุมอาหาร 17 กลุ่ม รวมอาหารประมาณ 500 รายการ ซึ่งเป็นอาหารสด อาหารแปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป และอาหารสำเร็จรูป ตลอดจนอาหารที่มีเฉพาะท้องถิ่น อาหารตามฤดูกาล โดยเฉพาะผลไม้ตามฤดูกาล เครื่องดื่ม น้ำดื่ม และเครื่องปรุงรสต่างๆ ตลอดจนทำการสำรวจตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงวัยสูงอายุ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงการบริโภคอาหารของกลุ่มวัยต่างๆ และทำให้ได้ฐานข้อมูลปริมาณการบริโภคอาหารต่างๆ ซึ่งมีความจำเป็นในการประเมินความเสี่ยงต่อการได้รับสารเจือปนที่มีอยู่หรือเติมลงในอาหาร อันเป็นข้อมูลในการต่อรองทางการค้าระหว่างประเทศของอาหารส่งออกจากประเทศไทย และใช้ข้อมูลในการกำหนดมาตรฐานความเสี่ยงจากการบริโภคของคนไทย รวมทั้งใช้เป็นเกณฑ์ปรับข้อกำหนดใน FBDG หรือข้อปฏิบัติการกินอาหารที่ดีของคนไทยด้วย ซึ่งจากผลสำรวจในครั้งนี้พบว่าคนกรุงเทพฯ ทั้งกลุ่มผู้หญิงและผู้ชายดื่มนมและกินเนื้อสัตว์มากกว่าคนต่างจังหวัด เด็กกรุงเทพฯ ดื่มนมโดยเฉลี่ยวันละ 300 มิลลิลิตร คนต่างจังหวัดพบว่ามีการบริโภคน้ำตาล ผลไม้ และขนมหวานมากกว่าคนกรุงเทพฯ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ส่วนอาหารว่างนั้นกลุ่มที่นิยมบริโภคคือกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มผู้ใหญ่บริโภคน้อย และพบว่าเด็กต่างจังหวัดนิยมบริโภคอาหารว่างมากกว่าเด็กในกรุงเทพฯ โดยภาพรวมพบว่าคนไทยกินอาหารที่มีไขมันเพิ่มมากขึ้น กินผัก-ผลไม้ลดลง โดยเฉพาะเด็กเล็กกินผักน้อยมาก คนวัยทำงานแม้จะกินผักมากกว่าเด็ก แต่ปริมาณที่กินก็นับว่าน้อย ซึ่งทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าทำไมคนไทยจึงประสบปัญหาโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคอื่นๆ ที่เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อมากขึ้นๆ ทุกปี จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจึงน่าจะทำให้เราได้ตระหนักและเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย โดยบริโภคในปริมาณที่พอเพียง ไม่มากไม่น้อยเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพ เช่น อาหารรสหวาน และอาหารรสจัดอื่นๆ พยายามกินผักให้มากขึ้น ที่สำคัญคือเรื่องของการใช้พลังงานควรให้สัมพันธ์กับอาหารด้วย เพราะแม้กินอาหารเหมือนปกติ แต่มีการใช้พลังงานหรือทำกิจกรรมต่างๆ น้อยลงก็ทำให้อ้วนได้เช่นกัน ดังนั้นถ้ากิจกรรมน้อยลง ก็ต้องลดปริมาณของอาหารลงด้วย

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

การสร้างบทความใหม่

การสร้างบทความ

1. เปิดหน้า Blog จากนั้นคลิ๊กที่ บทความใหม่
2. พิมพ์หัวข้อที่ ชื่อเรื่อง และตัวเลือกบทความ





3. การเพิ่มรูปภาพ ให้คลิ๊กที่ เพิ่มรูปภาพ จากนั้นจะขึ้นมาดังนี้






4. เมื่อพิมพ์บทความเสร็จแล้ว ให้คลิ๊กที่เผยแพร่บทความ

จะขึ้นมาดังนี้




5. คลิ๊กที่ดู บล็อก เสร็จสิ้นการสร้างบทความใหม่

การสร้าง Blog


การทำ Bolgger




1. เข้าสู่ เวป http://www.blogger.com/










2. คลิ๊กที่ สร้างบล็อกของคุณทันที จากนั้นทำการกรอกข้อมูล





3.ตั้งชื่อ webblog ของคุณ


3. ตั้งชื่อ webblog ของคุณ จากนั้น ดำเนินการต่อ


4. ให้เลือกแม่แบบที่ตัวเองชอบ แล้วดำเนินการต่อ



5. เสร็จสิ้นการสร้าง Blog






วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

ตารางส่งงาน

1. e-mail 10คะแนน
2.ส่งแผนที่ 5คะแนน
3. blog แนะนำตัวเอง 20คะแนน
4. blogประโยชน์ 40คะแนน
5. ฝากไฟล์ 10คะแนน
6. วิธีการใช้blog 15คะแนน
7. เข้าเรียน 10คะแนน

18ข้อคิด เพื่อชีวิตคนทำงาน

18ข้อคิด เพื่อชีวิตคนทำงาน

1.จงพิจารณาความเป็นไปได้ที่ว่าการชอบทำงานเกินเวลาจนเป็นนิสัยของคุณนั้นแสดงถึงว่าคุณต้องการสำนักงานมากกว่าที่สำนักงานต้องการคุณ

2. อย่าทำงานเกินเวลาจนติดเป็นนิสัยเมื่อมันกลายเป็นนิสัยจะทำให้มันหมดคุณค่า

3. ปล่อยตัวตามสบายได้ แต่อย่าให้ถึงกับดูโทรมนัก

4. จงทำตัวให้ร่าเริง คอยช่วยเหลือและทำหน้าที่ให้ดีในการทำงานของคุณคุณจะพบว่าไม่มีใครมาแข่งขันกับคุณ

5. อย่าได้ไว้เนื้อเชื่อใจว่าความสามารถ ความมีเสน่ห์และจินตนาการจะนำพาคุณขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดได้คุณควรจะมีผมสีเทาและพุงป่องกลางอีกหน่อยด้วย

6.อย่าได้เป็นกังวลในเรื่องการปล่อยเวลาให้เปล่าประโยชน์ในสำนักงานแต่เป็นกังวลกับการปล่อยให้ชีวิตของคุณ เปล่าประโยชน์จะดีกว่า

7. อย่าโทษคอมพิวเตอร์สำหรับความผิดพลาดที่คุณทำขึ้นเอง

8. ลองคิดถึงเวลาที่คุณไม่มีเงินเดือนดูบ้าง

9. จงถือว่าสุขภาพคือทรัพย์สมบัติประการแรก

10. อย่าได้ก้มหน้าก้มตาทำงานจนไม่เคยสังเกตเห็นนก ต้นไม้ ดอกไม้และปุยเมฆ

11. ในเวลาอาหารกลางวัน จงเลือกรับประทานอย่างฉลาดแต่ในบางครั้งจงรับประทานให้เต็มที่

12.เมื่อใดที่สำนักงานทำให้คุณรู้สึกเศร้าสร้อยจงนึกเสียว่านี่เป็นเกมกีฬาสำหรับคนที่ยังไม่เป็นผู้ใหญ่และอย่าได้นำมันกลับไปบ้านด้วย

13. จำไว้ว่ายังมีอะไรๆอีกมากในการทำงานและในชีวิตมากกว่าทำงานเพื่อให้มีชีวิตอยู่หรือมีชีวิตอยู่เพื่อจะทำงาน

14. อย่าทำเป็นคนตรงต่อเวลา ไปถึงก่อนเวลาจะดีกว่า

15.อย่าได้หลอกตัวเองว่าการมีสิ่งของรกอยู่บนโต๊ะหมายถึงการมีงานมากมันเพียงแต่หมายความว่าคุณยังไม่ได้ทำมันนั่นเอง

16.จัดเก็บโต็ะของคุณให้เรียบร้อยบุคคลส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จจะมีโต๊ะทำงานที่ว่างโล่ง

17.อย่าเป็นกังวลมากจนเกินไปว่าเพื่อนร่วมงานคิดอย่างไรกับคุณเพราะส่วนใหญ่ในชีวิตของพวกเขาไม่ได้คิดถึงคุณเลย

18. จงร่ำรวยเงินสด

มารู้จัก...เร้กเก้ ...(Raggae)

อะไรที่เรียกว่า เร้กเก้ (Raggae)

อ๋ออ...พอได้ยินคำว่าเร้กเก้ก้อจะนึกถึง..บ๊อบ มาเลย์ ผู้ที่ทำให้ เร้กเก้ เป็นที่รู้จักกันอย่างถ้วนทั่ว แต่ก่อนอื่นเรามารู้จักความเป็นไปเป็นมาของเร้กเก้กันก่อน เร้กเก้ ฟังแล้วสิ่งที่นึกออกเป็นอันดับต่อมาหลังจากที่นึกถึง บ๊อบ มาเลย์ คือเป็นดนตรีของคนดำ มาจากจาเมกา เน้นเสียงกีตาร์ กีตาร์เล่นจังหวะยก และมีการเล่นลัดจังหวะ และการเคาะจังหวะช้า ๆ สม่ำเสมอแต่ฟังแล้วทำให้รู้สึกอยากขยับแข้งขากันเลยก้อว่าได้ อีกสิ่งที่นึกถึงก้อเห็นจะเป็นสีสรรอันแสบทรวงของ แดง เขียว เหลือง มันเป็นสีประจำชาติจริงๆนะไม่ได้ล้อเล่น...สีของธงชาติเอธิโอเปีย และเนื่องจามีต้นกำเนิดมาจากทางแอฟริกัน ก้อเลยกลายเป็นสีประจำ... ไม่ใช่ประจำชาติ...ของชาวเร้กเก้หรือชาวรัสต้า (รัสต้ามาจากลัทธิรัสตาฟาเรียน Rastafarianism) เร้กเก้ (reggae) เป็นแนวดนตรีแอฟริกัน-แคริบเบียน เป็นดนตรีที่มีลักษณะพิเศษ เฉพาะที่เดียวในโลกของประเทศจาไมก้า ซึ่งอิทธิพลทางดนตรีมาจากนิวออร์ลีน ริธึ่มแอนด์บลูส์ สำหรับจาไมก้าตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ พลเมืองตกเป็นทาสของคนผิวขาว ก็มีการพัฒนาดนตรีเมนโตนำมาผสมกับอาร์แอนด์บีทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา พัฒนาเปลี่ยนแปลงจังหวะเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นดนตรีสกา (Ska) มาถึงปี 1968 ก็ได้มีการพัฒนาจนถึงขีดสุด ดนตรีเร็กเก้จึงถือกำเนิดขึ้น ภายใต้แนวความคิดของลัทธิรัสตาฟาเรียน ทรงผมฟั่นเชือกหรือเดรด ล็อก และอุดมคติทางการเมืองและสังคม ในการพาชาวแอฟริกัน-แคริบเบียน กลับสู่แผ่นดินในทวีปแอฟริกา